วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

น้ำหนักของเหรียญ

ทราบหรือไม่
เหรียญ 1 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาทในชุดปัจจุบันมีด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นภาพของพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2529
ในปี พ.ศ. 2552 กรมธนารักษ์ได้ปรับปรุงลวดลายของเหรียญ และเปลี่ยนโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญ 1 บาท เป็นโลหะไส้เหล็กชุบนิกเกิล น้ำหนักของเหรียญลดลงเป็น 3.00 กรัม จากเดิม 3.40 กรัม โดยที่ยังมีขนาดความหนาและเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าเดิม[1] การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะเริ่มแรกไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก และเหรียญแบบใหม่นี้ยังไม่สามารถใช้กับตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจเป็นเหรียญปลอม
ด้านหน้า
ด้านหน้า
ภาพ:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ผู้ออกแบบ:ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นาง พุทธชาติ อรุณเวช์
วันที่ออกแบบ:
ด้านหลัง
ด้านหลัง
ภาพ:พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ผู้ออกแบบ:ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นาย วุฒิชัย แสงเงิน

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2
       %E0%B8%8D_1_%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97[ออนไลน์]วันที่ 29 พฤษภาคม 2557  
       10.46 น.

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เลขนัยสำคัญ



ความหมาย
          การบันทึกผลการวัดด้วยเครื่องมือวัดจะต้องไม่อ่านค่าให้ละเอียดมากเกินกว่าความละเอียดของเครื่องมือที่ใช้  ค่าทั้งหมดที่อ่านได้จากเครื่องวัดซึ่งรวมถึงค่าที่อ่านได้โดยการคาดคะเนด้วยสายตาของผู้วัด  เรียกว่า เลขนัยสำคัญ  ซึ่งสามารถบอกความละเอียดของเครื่องมือวัดและทำให้สะดวกต่อการคำนวณผลที่ถูกต้อง

หลักในการพิจารณาเลขนัยสำคัญ
          1.ตัวเลขทุกตัวที่ไม่ใช่ 0 เป็นเลขนัยสำคัญทุกตัว
เช่น  158.75    มีเลขนัยสำคัญ   5  ตัว
          2.เลข 0 ที่อยู่ระหว่างเลขตัวอื่นเป็นเลขนัยสำคัญ
เช่น  108.05    มีเลขนัยสำคัญ   5  ตัว
          3.เลข 0 ที่อยู่ซ้ายมือสุดหน้าตัวเลขอื่นๆ  ไม่ใช่เลขนัยสำคัญ
เช่น  0.00000005        มีเลขนัยสำคัญ   1  ตัว
       0.0000512        มีเลขนัยสำคัญ   3  ตัว
          4.เลข 0 ที่อยู่ขวามือสุดหน้าตัวเลขใดๆ หลังจุดทศนิยม  เป็นเลขนัยสำคัญ
เช่น  140.0      มีเลขนัยสำคัญ   4  ตัว
       0.2400    มีเลขนัยสำคัญ   4  ตัว
          5.เลข 0 ที่อยู่ทางขวามือของเลขจำนวนเต็มใดๆ  อาจบ่งชี้เลขนัยสำคัญได้ไม่ชัดเจน 
เช่น  3600   มีเลขนัยสำคัญ       4  ตัว
หากเขียนในรูป  3.600x103  มีเลขนัยสำคัญ         4  ตัว
หากเขียนในรูป  3.6x103      มีเลขนัยสำคัญ        2  ตัว
การดำเนินการเลขนัยสำคัญ

การบวก ลบ
การคูณ หาร
คำตอบที่ได้จะต้องตอบโดยดูจำนวนเลขทศนิยมที่น้อยที่สุดเป็นหลัก
เช่น    59.4201        (ทศนิยม 4 ตำแหน่ง)
                                    -
         37.06          (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
         22.3601
ตอบ 22.36


คำตอบที่ได้จะดูจากจำนวนเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุดเป็นหลัก
เช่น    20.0456      (เลขนัยสำคัญ 6 ตัว)
                                    x
              1.39     (เลขนัยสำคัญ 3 ตัว)
     27.863384
ตอบ 27.8